งานสัมมนาวิชาการ
ด้านการสอนเปียโนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2023

วิทยากร

อาจารย์สุดา พนมยงค์จบการศึกษาวิชาดนตรีจากสถาบันดนตรีแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เคยสอนวิชาเปียโน วิชาฝึกโสตทักษะและวิชาสังคีตนิยมดนตรีตะวันตกในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร

นอกจากการสอนแล้ว อาจารย์สุดา พนมยงค์ยังมีผลงานการแสดงมากมายทั้งการแสดงเดี่ยวเปียโน แสดงร่วมกับนักร้อง และแสดงร่วมกับวงออเคสตร้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อาจารย์มัทนพันธุ์เริ่มเรียนเปียโนกับคุณแม่ คือท่านหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ตั้งแต่อายุ 3 ปี จากนั้นจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษและได้รับ Diploma ATCL และ LTCL จาก Trinity College of Music และ LRAM จาก Royal Academy of Music กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงได้กลับมาสอนเปียโนที่กรุงเทพฯ

อาจารย์โนริเอะเรียนเปียโนกับ Prof. Hiroko Suenaga (Principal of Fukuoka Music School), Prof. Motonari Iguichi, Prof. Yoshio Harada, Prof. Nozomi Shiga, Prof. Yoichiro Miyake, Prof. Toshiko Tezuka และ Prof. Akio Yashiro อาจารย์โนริเอะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและ Post-Graduated Course จาก Ferris University ประเทศญี่ปุ่น สาขาเอกวิชาการแสดงเปียโน ได้รับคัดเลือกให้ออกแสดงคอนเสิร์ต Western Japan New Musician Concert ในปี1969 ที่ฟุกุโอกะ และในปี1970 ที่โตเกียว หลังจากนั้นได้ย้ายมาพํานักที่ประเทศไทย โดยเรียนเปียโนกับนาวาตรีปิยะพันธ์ สนิทวงศ์และมีผลงานการแสดงคอนเสิร์ตทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น Beethoven 32 Sonatas Concert และร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับศิลปินต่างๆ เช่น Nancy Yuan นักร้องเสียงโซปราโน เป็นต้น

อาจารย์โนริเอะเคยดํารงตําแหน่งกรรมการและเหรัญญิกของมูลนิธิปิยะพันธ์สนิทวงศ์และได้จัดแข่งขันเปียโนหลายครั้งและเคยดํารงตําแหน่งอาจารย์ฝ่ายวิชาการของสถาบันดนตรียามาฮ่า หลังจากนั้นเป็นอาจารย์พิเศษสอนหลักสูตร Junior Special Advanced Course (JSAC) จนถึงหลักสูตร Piano Master Course (PMTC) ของโรงเรียนดนตรียามาฮ่า ซึ่งเป็นหลักสูตรที่คัดเลือกนักเรียนจากทั่วประเทศไทยเพื่อสร้างนักเปียโนมืออาชีพ โดยมีนักเรียนที่สําเร็จการศึกษาไปเป็นบุคลากรสําคัญในวงการดนตรีของไทยในปัจจุบัน เช่น ดร.อโณทัย นิติพน, ดร.พรพรรณ บรรเทิงหรรษา, ดร.บัณจินดา เหล่าไทย, ณ นันทร บุญเรือง, นิชยา วรรณแสง และมีนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแสดงในงาน Junior Original Concert ที่ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์และไต้หวันจํานวนหลายคน นักเรียนเปียโนของอาจารย์โนริเอะได้รับคัดเลือกให้ไปแสดงคอนเสิร์ตในหลายประเทศ เช่น โปแลนด์ ออสเตรีย และยังมีนักเรียนที่ได้รางวัลจากการแข่งขันเปียโนทั้งในและต่างประเทศในหลายเวทีเช่นรางวัลชนะเลิศลําดับที่ 3 ในการแข่งขัน International Chopin Competition in Asia 2014 รุ่น Amateur ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีนักเรียนที่สร้างชื่อเสียงทั้งในด้านเปียโน และในสายงานดนตรีด้านอื่นๆ เช่น ดร.อินทุอรศรีกรานนท์, ผศ. ดร.ภาวไล ตันจันทร์พงศ์, ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, พรชนก ตันสกุล,Tomoko Honda, ดร.ภาศิณีสกุลสุรรัตน์ เป็นต้น

อาจารย์โนริเอะได้ผลิตและสอนครูเปียโนหลายสถาบันมาเป็นเวลากว่า 40 ปีได้รับรางวัล Piyabhand Sanitwogse: Artistic Excellence Award ในปี 2016 ปัจจุบันอาจารย์โนริเอะดํารงตําแหน่ง Vice President and Treasurer of Bangkok Chopin Society, Committee Member of Ferris University (Alumni) & Fukuoka Jogakuin Music Department และผู้อํานวยการ Norie Music School

อาจารย์ณัฐ ยนตรรักษ์ ได้รับการยกย่องในการนำเอาดนตรีไทยและดนตรีตะวันตกมาผสมผสานกันได้อย่างมีชั้นเชิง อาจารย์ณัฐมีทักษะและรสนิยมที่ยอดเยี่ยมในการประพันธ์บทเพลงไทยสำหรับเปียโน ผลงานการประพันธ์ของท่านนั้นเป็นที่จับต้องได้สำหรับนักเปียโนชาวต่างชาติ และยังเป็นที่จดจำของนักเปียโนชาวไทยด้วยโทนเสียงที่มีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังท้าทายทักษะการบรรเลงและความสามารถของนักเปียโนได้อย่างน่าตื่นเต้น ท่านได้ประพันธ์โซนาตา 3 บทและกำลังประพันธ์ขึ้นใหม่อีกหนึ่งบท นอกจากนี้อาจารย์ณัฐยังได้ประพันธ์บทเพลงร่วมสมัยสำหรับเปียโนและยังได้เรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงสำหรับเปียโนและฮาร์พอีกมากมาย

ในฐานะนักเปียโน อาจารย์ณัฐได้ออกแสดงทัวร์หลายประเทศทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นตัวแทนประเทศไทยบนเวทีระดับนานาชาติในการนำเสนอบทเพลงไทยผ่านผลงานที่อาจารย์เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น

ในฐานะครู อาจารย์ณัฐ ยนตรรักษ์ได้ก่อตั้งสถาบันสอนเปียโน ณัฐ สตูดิโอขึ้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้ผลิตนักเปียโนคุณภาพสูงออกมามากมาย ซึ่งปัจจุบันนักดนตรีเหล่านี้กำลังทำงานดนตรีในด้านต่างๆ ทั้งการแสดง การสอนและการประพันธ์เพลง

ศ. ดร.ธงสรวง อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดและเติบโตในตระกูลนักเปียโน โดยมีหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นคุณยาย อาจารย์ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ฯ (ศิลปินแห่งชาติด้านการแสดงเปียโน) เป็นคุณน้า และอาจารย์กําธร สนิทวงศ์ฯ เป็นคุณลุง อาจารย์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างตํานานแห่งวงการเปียโนของไทย โดยตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างนักเปียโนระดับแนวหน้าของประเทศไทยเป็นจํานวนมาก บรรดาศิษย์นักเปียโนของท่านได้พัฒนาให้ประเทศไทยขึ้นเป็นผู้นําในศาสตร์ด้านการแสดงเปียโนของกลุ่มประเทศอาเซียน

ศ. ดร.ธงสรวง สําเร็จการศึกษาด้านการแสดงเปียโน (Piano Performance) จาก Manhattan School of Music ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางดนตรีที่ดีที่สุดติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก โดยเรียนเปียโนกับ Nina Svetlanova นักเปียโนผู้เป็นศิษย์สายตรงสืบทอดมาจาก Franz Liszt และ Ludwig van Beethoven อาจารย์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ Doctor of Music จาก Shenandoah University ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ The Concerto Prize ได้รับคัดเลือกเป็นนักเปียโนที่ประสบความสําเร็จอย่างสูงจาก The Who’s Who of American Universities and Colleges หลังกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลอาจารย์แบบอย่างจากสภาคณาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสาขาวิชามนุษยศาสตร์และรางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกเป็น Artist Ambassador Thailand จากกระทรวงต่างประเทศ ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานโล่พระราชทานรางวัล ‘อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติสาขาศิลปกรรมศาสตร์’ รางวัล ‘Artistic Excellence Award 2016’ และได้รับการแต่งตั้งเป็น Bösendorfer Piano Artist คนแรกของประเทศไทยจาก Bösendorfer Piano กรุงเวียนนา ปัจจุบันอาจารย์ดํารงตําแหน่งประธานสมาคมโชแปง กรุงเทพฯ (President of The Bangkok Chopin Society)

"เด็กนักเรียนทุกคนเปรียบเสมือนดอกไม้ที่ต่างกัน นั่นหมายความว่าเด็กนักเรียนแต่ละคนย่อมมีฝีมือในการเล่นเปียโนที่ต่างกัน ไม่ใช่ว่าใครเก่งกว่า ไม่ใช่ว่าใครดีกว่า แต่ว่าทุกๆคนมีฝีมือที่สวยงามต่างกัน" นี่คือปรัชญาที่อาจารย์ ดร.ปวัตน์ชัยได้ยึดถือมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านประสบการณ์การสอนนานมาร่วม 20 ปีจากหลายๆสถาบัน เช่น สถาบันจินตการดนตรี, สถาบันดนตรี Trinity, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นต้น โดยที่อาจารย์ ดร.ปวัตน์ชัยได้เน้นการสอนให้สนุกและมีคุณภาพในเวลาเดียวกัน ซึ่งคุณภาพการสอนของอาจารย์ได้รับการรับรองจากรางวัล Excellent Teacher Award, Graduate Assistantship จากทั้ง Illinois State University, และ West Virginia University ที่ผ่านมา อาจารย์ปวัตน์ชัยศึกษาการบรรเลงเปียโนจาก อ. ดวงเนตร ลาดล่าย, ดร.ชนิดา ตังเดชะหิรัญ, ผศ. ดร.นภนันท์ จันทร์อรทัยกุล, Dr. Bennett Lerner, Gillert Modos ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ West Virginia University, USA, อาจารย์ปวัตน์ชัยเป็นครูสอนเปียโนกลุ่มและเปียโนเดี่ยวที่มหาวิทยาลัยด้วย รวมถึงเป็นครูสอนเปียโนที่ West Virginia University Community Music Program

ดร.ปวัตน์ชัยจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการแสดงเปียโนที่ West Virginia University โดยศึกษาการบรรเลงเปียโนกับ Dr. Peter Amstutz รวมถึงได้รับเกียรติจาก Dr. Andrew Kohn เป็นที่ปรึกษาด้านการเขียนวิทยานิพนธ์

ปัจจุบัน ดร.ปวัตน์ชัยดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารที่สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ และเป็นอาจารย์ประจำที่สาขาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง อาจารย์ประจำสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางด้านดนตรีวิทยาที่มหาวิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง แห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (University of Music and Performing Arts Vienna, ๒๕๕๘) อีกทั้งได้ศึกษาควบคู่ไปในระดับ Postgraduate ที่ Anton Bruckner Private University ที่เมือง Linz ประเทศออสเตรีย โดยได้เรียนเปียโนกับ Prof. Dr. Margit Haider-Dechant และได้เรียน Pianoforte ในชั้นเรียนของ Wolfgang Brunner

ดร.ชัญพงศ์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททั้งด้านการแสดงดนตรี (Music Performance, ๒๕๕๑) และด้านการสอนดนตรี (Music Pedagogy, ๒๕๕๓) จากมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบิร์น (Bern University of the Arts) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเรียนเปียโนกับ Tomasz Herbut เรียนการเล่นเครื่องดนตรีโบราณ Harpsichord กับ Dirk Börner และเรียนการเล่น Pianoforte กับ Edoardo Torbianelli

ดร.ชัญพงศ์ เริ่มต้นเรียนเปียโนครั้งแรกเมื่ออายุ ๗ ปี และได้เรียนกับอาจารย์ณัฐ ยนตรรักษ์ (๒๕๓๘ - ๒๕๔๗) ชัญพงศ์ได้เข้าแข่งขันหลายรายการและได้รับรางวัลหลายครั้ง เช่น รางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันเปียโน ณัฐ สตูดิโอ (๒๕๔๐) รางวัลดีเลิศจากการแข่งขันเปียโนโชแปงนานาชาติแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๑ ณ ประเทศญี่ปุ่น (๒๕๔๓) รางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันเปียโนโชแปงแห่งประเทศไทย (๒๕๔๕) และรางวัลที่ ๓ จากการแข่งขันดนตรีนานาชาติครั้งที่ ๑๘ ณ เมือง Cortemilia ประเทศอิตาลี (๒๕๕๓)

นอกจากความสามารถทางด้านดนตรีแล้ว ดร.ชัญพงศ์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ๒๕๔๗

ดร.ธารินทร์ สุภประกรเป็นนักเปียโนเดี่ยว ผู้เล่นคลอ นักดนตรีเชมเบอร์ และครูสอนเปียโน เขาชนะรางวัลทรงเกียรติจากการแข่งขันมากมายจากประเทศไทย ญี่ปุ่น ลิธัวเนีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการแสดงเดี่ยวร่วมกับวงออร์เคสตราประจำจากสหรัฐอเมริกา เอเชีย และยุโรป อาทิเช่น International Orchestra of Italy, National Orchestra of Indonesia, Lithuanian Symphonic Orchestra, Seoul Philharmonic Orchestra, Rochester Philharmonic Orchestra และอื่นๆ อีกมากมาย นักวิจารณ์ยกย่องการเล่นของเขาว่า “ราวกับบทกวี” และ “สง่างาม” พัทยา เมล (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ธารินทร์ สุภประกรผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ถ่ายทอด (ร่วมกับ Seoul Philharmonic Orchestra) เทคนิคเหนือชั้นและอารมณ์ตามกำหนดอย่างมีชีวิตชีวา เสมือนนิ้วของเขาเป็นปีกนกฮัมมิ่งเบิร์ดที่ก่อกำเนิดชีวิตใหม่ให้แก่ Rhapsody in Blue ของ Gershwin” บางกอกโพสต์ยกย่องเขาให้เป็น “หนึ่งในนักเปียโนอายุน้อยที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของไทย”

ปัจจุบัน ดร.ธารินทร์เป็นอาจารย์ประจำที่ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นผู้อำนวยการด้านวิชาการของโรงเรียนดนตรีคาไวประเทศไทย นอกจากนี้ ดร.ธารินทร์สอนเปียโนที่ห้องเรียนดนตรีโรงเรียนหอวัง โรงเรียนดนตรีคาไวชลบุรี โรงเรียน Peterson Piano Institute และโรงเรียนดนตรีซูเนอร์

ดร.ธารินทร์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกและปริญญาโทด้านการแสดงเปียโนและวรรณคดีจาก Eastman School of Music โดยศึกษากับ Dr. Nelita True และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Yong Siew Toh Conservatory of Music, National University of Singapore โดยศึกษากับ Dr. Thomas Hecht

ดร.ธารินทร์เริ่มเรียนเปียโนที่ประเทศไทย และได้รับทุนจากกองทุนหม่อมหลวงพวกร้อย อภัยวงศ์ ขณะที่ศึกษากับ ดร.อินทุอร ศรีกรานนท์ นอกจากนี้ธารินทร์เป็นนักเรียนทุนของทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ฯ สมเดิจพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

อาจารย์อัสยุช จำรูญจบการศึกษาปริญญาโท ทางด้านการแสดงเปียโน จาก New England Conservatory of Music ได้รับ Certificate ทางด้านการแสดงเปียโนแจ๊ส จาก Berklee College of Music และจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาเอกเปียโน

อาจารย์อัสยุชเรียนเปียโนกับอาจารย์ ณัฐ ยนตรรักษ์ และได้มีโอกาสเรียน Masterclass กับนักเปียโนที่มีชื่อเสียงหลายท่าน รวมทั้งได้เรียนเพิ่มเติมกับอาจารย์ Wei Zhou และศึกษากับ Veronica Jochum อาจารย์เปียโนชาวเยอรมัน

อาจารย์อัสยุชได้รับรางวัลจากการแข่งขันเปียโนหลายครั้ง รวมทั้งแสดง Piano Concerto ร่วมกับวง Bangkok Symphony Orchestra, Thai National Symphony Orchestra และ Thailand Philharmonic Orchestra

นอกจากดนตรีคลาสสิคแล้ว อาจารย์อัสยุชได้ศึกษาเพิ่มเติมทางด้านดนตรีแจ๊ส และได้รับ Certificate ทางด้านการแสดงเปียโนแจ๊ส จาก Berklee College of Music เมือง Boston มลรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาเปียโนกับ JoAnne Brackeen, Ray Santisi, Laszlo Gardony, และ Suzanna Sifter รวมทั้งเรียน Ensemble และ Improvisation กับ Ed Tomassi, Ralph Peterson และ Victor Mendoza

ดร.อัคร ยืนยงหัตถภรณ์เป็นนักเปียโนคลาสสิกที่มีผลงานโดดเด่นและได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย อัครมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานของดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยผ่านทางการแสดงและการสอนที่มีคุณภาพระดับสากล

ดร.อัครมีผลงานแสดงคอนเสิร์ตในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ ผลงานบรรเลงเปียโนของอัครได้ถูกเผยแพร่ทางสถานีวิทยุทั้งในประเทศไทย แคนาดาและสหรัฐอเมริกา ในฐานะนักดนตรีแชมเบอร์ อัครได้ทำงานร่วมกับสมาชิกจากวงออเคสตร้าสำคัญของประเทศและระดับสากล ได้แก่ London Symphony Orchestra, Orchestre Symphonique de Montréal, Baltimore Symphony Orchestra, Israel Chamber Orchestra, Royal Bangkok Symphony Orchestra และ Thailand Philharmonic Orchestra

คร.อัครสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Yong Siew Toh Conservatory of Music มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ปริญญาโทสาขาการแสดงเปียโน และ Graduate Performance Diploma สาขาการแสดงดนตรีแชมเบอร์จาก Peabody Conservatory มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ในประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกสาขาการแสดงเปียโนจาก Schulich School of Music มหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา ในขณะศึกษาอยู่ที่ Peabody Conservatory อัครได้รับเลือกให้เป็น Graduate Teaching Assistant in Music Theory และ Keyboard Studies และต่อมาได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา

อาจารย์ที่สำคัญของดร.อัคร ได้แก่ นักฮาร์ปซิคอร์ด Adam Pearl นักฟอร์เต้เปียโน Tom Beghin ส่วนแนวทางการบรรเลงเปียโนคลาสสิกแบบแผนปัจจุบัน อัครศึกษาจาก Eri Nakagawa, Thomas Hecht, Yong Hi Moon และ Stéphane Lemelin

ปัจจุบันดร.อัครอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาส่วนมากในการแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนและแชมเบอร์กับนักดนตรีชั้นนำของกรุงเทพฯ แนะแนวนักเปียโนรุ่นใหม่มากความสามารถของประเทศไทย พูดบรรยายสาธารณะในหัวข้อเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก และเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

อาจารย์ยศพล คุณะวิภากรจบการศึกษา Pre-College มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่ Yong Siew Toh Conservatory of music ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อจากนั้นเขาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาการแสดงเปียโน และ Certicate of Advance Study สาขาออร์แกน ที่ Bern University of Arts ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

อาจารย์ยศพล มีประสบการณ์สอนมามากกว่า 14 ปี และได้รับรางวัล Excellent และ Outstanding Teacher จากสถาบันสอบและการแข่งขันมากมาย เขายังได้รับเลือกเป็นกรรมการในการแข่งขันนานาชาติ Feurich Piano Competition และ RMI Festival ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดเนเซีย นักเรียนของเขาได้รับรางวัลผู้ทำคะแนนสูงสุดและชนะการแข่งขันเปียโนระดับนานาชาติมากมายทั้งในและต่างประเทศ

อาจารย์ยศพลเป็นนักดนตรีมากประสบการณ์ เขาเคยทำงานเป็นนักออร์แกนและ house pianist ให้กับคณะนักร้อง Gospelchoir Lieberfeld ในเมืองไทยเขามีผลงานเป็นมมือคีย์บอร์ดร่วมอัดเสียงและทัวร์คอนเสิร์ตกับวง25hours นอกจากนี้เขายังเคยเป็น co-producer ผลิตเพลงเปิดตัวของ Disney+ Hostar ให้กับปาล์มมี่ และ เป๊กผลิตโชคอีกด้วย

ดร.สุวิดาเป็นนักเปียโนชาวไทยที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันหลายรายการทั้งในไทยและต่าง ประเทศ เช่น

  • รางวัลชนะเลิศจาก American Fine Arts Festival International Concerto Competition ประเทศ สหรัฐอเมริกา (2017)
  • รางวัลชนะเลิศ Grand Prize Virtuoso International Music Competition กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2017)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งจาก The Third Paris International Internet Music Competition ประเทศฝรั่งเศส (2018)
  • รางวัลชนะเลิศ Susan Torres Award in California ประเทศสหรัฐอเมริกา (2015)
  • รางวัลรองชนะเลิศ Thailand Steinway Piano Concerto Competition ประเทศไทย (2012)

นอกจากนี้เธอยังมีผลงานการแสดงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการแสดงในหอแสดงอันสำคัญของโลก เช่น Royal Albert Hall : The Elgar Room กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2017) และ Carnegie Hall : Weill Recital Hall ในมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา (2018)

ดร.สุวิดาจบการศึกษา สาขาการแสดงเปียโนคลาสสิก จาก

  • ระดับปริญญาตรี จาก Lynn University, Florida
  • ระดับปริญญาโท จาก San Francisco Conservatory of Music
  • ระดับปริญญาเอก จาก University of Texas at Austin ทั้งสามมหาวิทยาลัยนั้นตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน ดร.สุวิดาเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาเปียโน วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิตและสอนเปียโนที่สตูดิโอส่วนตัว โดยมีผลงานจากการที่นักเรียนได้ชนะหลายรางวัลในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ แคนาดา ฯลฯ

รองศาสตราจารย์ ดร.เอริ นาคากาวา จากเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันท่านเป็นอาจารย์ในภาควิชาเปียโน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยก่อนที่จะเริ่มงานที่มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น เธอได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชา Music Performance ที่ Ball State University รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นนักเปียโนรับเชิญและศาสตราจารย์ที่ University of Northern Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา, Bruckner Conservatory เมืองลินซ์ ประเทศออสเตรีย, Bosendorfer Saal กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย, Yong Siew Toh Conservatory of Music ประเทศสิงคโปร์, Corfu Festival ประเทศกรีซ, Western Australian Academy of Performing Arts เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย, Moulin d’And International Masterclasses เมืองนอร์มันดี ประเทศฝรั่งเศส, Piano Plus Festival เมืองคอร์ฟู ประเทศกรีซ, UCSI University กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย, Beijing China Conservatory, Northwest Minzu University in Lanzhou, NanJing Xiaozhuang University, Zhejiang Conservatory of Music in Hangzhou ประเทศจีน, Sicily International Piano Festival ประเทศอิตาลี, Piano Island Festival กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ฯลฯ นอกจากผลงานการแสดงเดี่ยวเปียโนอันมากมายแล้ว ดร.เอริยังมีผลงานการแสดงคอนแชร์โตมากกว่าสิบบทประพันธ์ ร่วมกับวงออร์เคสตร้าหลายวง และเธอยังชื่นชอบในการบรรเลงเปียโนประกอบ (Collaborative pianist) ร่วมกับนักดนตรีระดับคุณภาพทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

ดร.เอริสำเร็จการศึกษาจาก Osaka Kyoiku University และได้ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาที่ Mukogawa Women’s University ประเทศญี่ปุ่น เธอสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านการแสดงเปียโนจาก Ball State University ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์ผู้สอนเปียโนคนสำคัญของเธอได้แก่ Koji Tanaka, Naoyuki Inoue, Mitchell Andrews, และ Pia Sebastiani

นักเรียนหลายคนของดร.เอริ เคยได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าจากการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศิษย์เก่าของเธอหลายคนได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันดนตรีชั้นแนวหน้าของโลก เช่น Yong Siew Toh Conservatory of Music, Juilliard School, Mozarteum University Salzburg, Royal College of Music เป็นต้น ดร.เอริเคยได้รับรางวัล The Trinity Guildhall Award for Excellence in Music Teaching ในปี 2010 และ 2017, รางวัล Teaching Award จาก the 13th Chopin International Piano Competition in ASIA ปี 2013, Best Teacher Award จาก Kawai Music Competition ปี 2016, และ Mahidol Music Honor Award ปี 2022

ดร.พรพรรณ บรรเทิงหรรษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกเมื่ออายุ 27ปี และปริญญาโททางด้านการแสดงเปียโนจาก Eastman School of Music, Rochester, New YorK ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตักสิลาทางด้านดนตรีของโลกกับศาสตราจารย์ Rebecca Penneys ด้วยทุนการศึกษา Collaborative Piano Graduate Award/Graduate Teaching Assistant

หลังจากจบปริญญาตรีจาก University of Miami ด้าน Piano Performance และประพันธ์เพลงด้วยทุนเต็มจำนวน กับ Dr.Rosalina Sacksteinและ Dr.Teresa Escandon เธอยังได้รับรางวัล “Outstanding Student in Music Composition, Traditional and Media Writingนอกจากนี้ ดร.พรพรรณได้เคยร่วมงานสอนที่ Community School of Music and Arts และยังร่วมงานเป็น Collaborative pianist ให้กับคณะดนตรีของ Ithaca College ณ รัฐนิวยอร์ค

ดร.พรพรรณเป็นนักดนตรีไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงและเล่น Masterclass ที่ Verbier Festival and Academy ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเทศกาลดนตรีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โดยได้รับทุนสนับสนุนจากทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ดร.พรพรรณได้รับเชิญไปสอนและเป็นกรรมการใน festival หลายๆครั้งเช่น Asia and Europe including Sicily International Piano Festival and Competition (Italy), Asia International Piano Academy and Festival (Korea) and Silpakorn Summer Music School นอกจากนี้ลูกศิษย์ของเธอยังได้รับรางวัลมากมายในเวทีระดับโลกเช่น Franz Liszt International competition for Young Pianist (Weimar, Germany), International Robert Schumann Competition Düsseldorf for Young Pianist, International Piano Competition for Young Musician (Netherland), and Kauffman International Piano Competition (New York, USA)

ดร.พรพรรณเคยเป็นอาจารย์ประจำและดูแลหลักสูตรปริญญาโทที่คณะดุริยางค์ศาตร์ สาขาการแสดงเปียโนของมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่ปี 2009-2019 ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและครูใหญ่ของสถาบัน Piano Academy of Bangkok

อาจารย์อิรินา โนวิโควาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจาก Ippolitova-Ivanova National Musical Pedagogical University กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย เธอเริ่มทำงานในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ รักษาการชั่วคราว แผนกกิจกรรมการศึกษา ที่ E.F. Svetlanov's Children School of Art ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึง 2010

ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน อ.อิรินาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาคีย์บอร์ดในภาควิชาดนตรี โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพฯ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น อ.อิรินาได้รับการนับถืออย่างยิ่งจากการที่นักเรียนของเธอล้วนประสบความสำเร็จจากการแข่งขันเปียโนจำนวนนับไม่ถ้วนทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ นอกจากนี้นักเรียนของเธอยังเคยแสดงคอนเสิร์ตในหอแสดงอันสำคัญของโลก อีกทั้งยังมีโอกาสได้ร่วมแสดงกับนักเปียโนที่มีชื่อเสียง อาทิ Martha Argerich, Vladimir Ashkenazy, Vladimir Spivakov, Alexander Gindin, Natalie Trull, Vanessa Latarche ศิษย์เก่าจำนวนไม่น้อยของเธอได้ศึกษาต่อทางด้านดนตรีในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของโลก เช่น Moscow Conservatory, Juilliard, Royal College of Music เป็นต้น

ในปี 2016 อ.อิรินา ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการจัดคอนเสิร์ตถวายแด่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ นอกจากนั้น นักเรียนของเธอยังได้มีโอกาสบรรเลงเปียโนต่อหน้าพระพักต์เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในพระยุพราชฟูมิฮิโตะแห่งประเทศญี่ปุ่น และประธานาธิบดีฮาลีมะฮ์ ยากบแห่งประเทศสิงคโปร์

อ.อิรินาเคยได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินในการแข่งขันมากมายทั้งในประเทศไทย ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา

ดร.กฤษฎ์ นิรมิตธรรม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาการแสดงเปียโนจาก Conservatoire de Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และระดับปริญญาเอกสาขาดนตรีศึกษาจาก Nanyang Technological University และสาขาศาสนศาสตร์จากสถาบันพระคริสตธรรมกรุงเทพ-AGST Alliance

ดร.กฤษฎ์ได้มีโอกาสแสดงทั้งดนตรีเชมเบอร์และคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนในหลายประเทศทั้งในยุโรปและเอเชีย ดร.กฤษฎ์ยังได้ร่วมควบคุมวงออร์เคสตราและแสดงบทเพลงสำหรับเปียโนและออร์เคสตราในฐานะนักเปียโน-วาทยกร ดร.กฤษฎ์ สอนเปียโน ดนตรีเชมเบอร์ ทฤษฎีดนตรีและดนตรีศึกษาให้กับทั้งนักเรียนไทยและต่างประเทศ นักเรียนเปียโนของดร.กฤษฎ์นั้นได้รับรางวัลในการแข่งขันและการสอบดนตรีในระดับชาติและนานาชาติ

นอกจากนั้น ดร.กฤษฎ์ ยังได้ทำการวิจัยและตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการด้านดนตรีศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะการสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับวงการดนตรีศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

นักเปียโนนีโอคลาสสิก, นักเปียโนแจ๊ส-บลูส์, มือกีต้าร์ร็อค, นักเรียบเรียงเสียงประสานและครูสอนเปียโน อาจารย์เสกข์ได้ทำการแสดงมาแล้วทั้งในประเทศรัสเซีย ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศไทย

อาจารย์เสกข์ ทองสุวรรณ นักเปียโนชาวไทยผู้เติบโตขึ้นจากครอบครัวเกษตรกรในจังหวัดพะเยา เมื่ออายุ 17 ปี เขาได้รับทุน AFS เต็มจำนวนเพื่อไปศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ประเทศรัสเซียเป็นเวลา 1 ปี โดยเขาได้รับโอกาศในการสอบเข้าเรียนในสถาบันดนตรี Sobinova ก่อนที่เขาจะสำเร็จหลักสูตรแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเมื่อเขาสอบผ่าน เขาก็ได้กลับมายังประเทศรัสเซียอีกครั้งใน 1 เดือนหลังจากสิ้นสุดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Classical Piano ใน 3 ปีต่อมา จากนั้นจึงได้สอบเข้าเรียนต่อใน Rimsky-Korsakov, Saint Petersburg State Conservatory ซึ่งเป็นสถาบันดนตรีที่ยอดเยี่ยมและเก่าแก่ที่สุดในรัสเซีย

อาจารย์เสกข์สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (SPECIALIST) ด้าน Classical Piano จาก Rimsky-Korsakov, Saint Petersburg State Conservatory ประเทศรัสเซีย ภายใต้การสอนจาก Professor Tatiana Mihailovna Zagorovskaya นักเปียโนมือรางวัลและศิลปินกิตติมศักดิ์แห่งรัสเซีย จากนั้นเสกข์จึงได้กลับมายังประเทศไทยเพื่อเยี่ยมครอบครัวและได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิกอีกหลายครั้ง ทั้งยังได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเปียโนผู้มีชื่อเสียงและมีความรู้กว้างขวาง

การแสดงที่โดดเด่นของเขาประกอบไปด้วย การได้รับเชิญให้แสดงบทเพลง Piano Concerto No. 1 ของ Tchaikovsky ต่อหน้าพระพักต์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ร่วมกับวง Thailand Philharmonic Orchestra เสกข์ยังได้รับเชิญให้ร่วมแสดงคอนเสิร์ตพิเศษในโอกาสครบรอบ 50 ปีการเสด็จเยือนเมือง Auckland ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร. 9) ผู้ชมทั้งจากประเทศไทยและประเทศนิวซีแลนด์ต่างชื่นชมในการตีความบทเพลง Piano Concerto No. 2 ของ Sergei Rachmaninoff นักประพันธ์ชาวรัสเซียและการบรรเลงบทเพลง Pokarekare Ana เพลงพื้นบ้านของนิวซีแลนด์

จุดเปลี่ยนในเส้นทางอาชีพดนตรีของอาจารย์เสกข์เริ่มต้นเมื่อชื่อเสียงของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยทั้งด้านดนตรีคลาสสิกและดนตรีแจ๊ส เขาได้รับทุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยเพื่อให้เขาได้มีโอกาสต่อยอดความรู้และทักษะทางด้านดนตรีของเขาออกไปในวงกว้าง นอกเหนือจากการแสดงแล้วเสกข์ยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจในด้านการสอนอีกด้วย เขาเป็นอาจารย์สอนเปียโนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และด้วยความรู้ความสามารถที่เขามีเสกข์จึงเป็นครูที่มีผู้สนใจอยากเรียนรู้ด้วยเสมอ

ปัจจุบันอาจารย์เสกข์เป็น Yamaha Artist ผู้ให้คำปรึกษาและสอน masterclass ให้ครูเปียโนในประเทศไทย เขายังได้เป็นกรรมการตัดสินใน Yamaha Thailand Music Festival ปี 2015 และเป็นกรรมการตัดสินในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศในรายการ Hong Kong International Music Festival ปี 2019 ในฐานะครูผู้สอน นักเรียนของเสกข์ได้รับทุนการศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ The Mozarteum University, San Francisco Conservatory of Music และ Young-Siew Toh Conservatory ประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้นักเรียนของเสกข์ยังได้รับรางวัลจากการแข่งขันหลายรายการทั้งในอเมริกา ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ ออสเตรีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และเกาหลี

นักเปียโนคลาสสิกฝีมือเยี่ยมและอาจารย์ที่ลูกศิษย์เคารพรัก ดร.นภนันท์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขา วิชาการแสดงเปียโนจาก Thornton School of Music, University of Southern California ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.นภนันท์ เป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวจนถึงปัจจุบันที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการแสดงเปียโน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.นภนันท์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขา Piano Performance and Literature จาก Eastman School of Music, Rochester, New York ประเทศสหรัฐอเมริกา

ดร.นภนันท์ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันเปียโนระดับชาติหลาย รางวัล ทั้งรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันเปียโนคอนแชร์โตเยาวชนแห่งชาติในปี 2531 และรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันเปียโนของสมาคมโชแปงกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ในปี 2532 รวมทั้งรางวัลการบรรเลงเพลง Waltz ยอดเยี่ยมและรางวัลการ บรรเลงเพลง Mazurka ยอดเยี่ยม

นอกจากการแสดงเดี่ยวและการแสดงแบบแชมเบอร์แล้ว ดร.นภนันท์ยังเคยได้รับเชิญให้แสดงร่วมกับวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Symphony Orchestra) และวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (Royal Bangkok Symphony Orchestra) ด้วย

ดร.นภนันท์เป็นอาจารย์ที่ลูกศิษย์เคารพรัก เป็นอาจารย์ที่ทุ่มเทให้กับงานสอนอย่างจริงจัง ลูกศิษย์ของดร.นภนันท์ เคยได้รับรางวัลในการแข่งขันเปียโนระดับชาติและระดับนานาชาติ ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะดนตรีของมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย ยุโรปและอเมริกาและผ่านการสอบเปียโนในระดับต่างๆด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นอกจากนั้น ดร.นภนันท์ยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการอบรมครูเปียโนของสถาบันดนตรีชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่เสมอ

ดร.นภนันท์เรียนเปียโนอาจารย์สุดา กลอเรีย จันทร์อรทัยกุล, ศาสตราจารย์ ดร.ธงสรวง อิศรางกูร, Professor Barry Snyder และ Professor Daniel Pollack ตามลำดับ นอกจากนี้ ดร.นภนันท์ยังเป็นหนึ่งในนักเปียโนคนไทยจำนวนไม่กี่คน ที่สอบได้ FTCL ซึ่งเป็นวุฒิบัตรด้านการแสดงเปียโนระดับสูงสุดของ Trinity College London

ดร.นภนันท์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชาดนตรีของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันที่ดร.นภนันท์ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนเปียโนอยู่เป็นเวลา 13 ปี และได้มีส่วนในการพัฒนาแผนกเปียโนของวิทยาลัยให้เป็นแผนกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ปัจจุบัน ดร.นภนันท์ เป็นอาจารย์สอนเปียโนอิสระ โดยมุ่งสอนเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรีและนักเรียนที่ตั้งใจจะเรียนดนตรีเป็นวิชาชีพต่อไปในอนาคต นอกจากนั้น ดร.นภนันท์และลูกศิษย์กลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งบริษัท Cornerstone Music Company Limited Thailand เพื่อจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพสูงเพื่อกระตุ้นการเรียนการสอนดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย